วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Knowledge management a vital factor

บทความเกี่ยวกับการจัดการความรู้

By By Niall Sinclair
Published on November 11, 2009

The director of knowledge management at Bangkok University's Institute for Knowledge and Innovation, Niall Sinclair, explains why knowledge management matters in the drive to foster a creative economy. This is the third part in a series by Sinclair, author of "Stealth KM".

Four hundred years ago, the English statesman and philosopher Francis Bacon said: "Knowledge is power".


It's as true now as it was then, except that now the amount of information available to those seeking knowledge has multiplied to almost unimaginable proportions. For instance, entering the term "knowledge management" to a Google search results in 9.21 million responses.


So, what has this to do with Thailand's desire to become a creative economy?


Creativity is dependent on the use of knowledge, either already held or waiting to be discovered, by those individuals who form the workforce of the economy. And if those people want to be creative and innovative, they must manage their sources of information and knowledge efficiently. The discipline known as knowledge management (KM) can help them to do so - as many others have already discovered. Hence, the 9.21 million responses delivered by Google.


KM is a business discipline, with supporting tools and techniques, that helps people and organisations manage their knowledge as an asset: an asset that is captured, stored, shared and made accessible to those who need it. KM can help organisations to build and manage a knowledge foundation from which creativity and innovation can grow. It also helps to build bridges between islands of organisational knowledge.


KM is especially effective when used by communities and work teams that share a similar business goal and face the same environmental challenges. Communities are really the gatekeepers of organisational knowledge, being aware of where to find the knowledge they need and whom they need to share it with. Even if there is no formal KM strategy in play, the facilitation of communities can have a beneficial effect on any organisation. The same is also true of the economy, which comprises many different types of communities of expertise. So, whether Thailand has a formal KM strategy in place or not, it is clear the continued availability, sharing and use of knowledge is the key to enabling the economy to become more creative and that knowledge management is a crucial support function that can help to enable that change.

NIALL SINCLAIR is also founder and managing director of Nterprise Consulting, in Ottawa. He can be reached at niall.s@bu.ac.th or nterprise@rogers.com.

Source: http://www.nationmultimedia.com/worldhotnews/30116294/Knowledge-management-a-vital-factor

วันศุกร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

TQA ชวนสถาบันอุดมศึกษาไทยไต่เอเวอเรสต์

บทความเกี่ยวกับการจัดการความรู้

วันที่ 8 กันยายน 2552 00:01

การนำรางวัลคุณภาพมาใช้บริหารจัดการในสถาบันอุดมศึกษา ต้องมุ่งเน้นการมองตัวเอง พัฒนาปรับปรุงตัวเอง อย่าพยายามพุ่งเป้าไปที่การแข่งขันกับคนอื่น

นี่คือคำกล่าวของ "ศาสตราจารย์ ดร.หลุยส์ มา.อาร์ คาลินโก" คณบดีของคณะบริหาร ธุรกิจ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา ในงานเสวนาเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ที่จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

เนื่องจาก สกอ.สนใจนำรางวัลคุณภาพแห่งชาติ Thailand Quality Award - TQA มาประยุกต์ใช้บริหารจัดการในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทยให้ก้าวสู่มาตรฐานโลก

ซึ่งสหรัฐอเมริกาถือเป็นต้นแบบ เป็น Best Practice ในเรื่องนี้ เพราะรางวัลคุณภาพแห่งชาติของเขาหรือ Malcolm Baldrige National Quality Award - MBNQA นั้นมีองค์กรทั่วโลกนำไปประยุกต์ใช้ไม่ว่าภาครัฐ และเอกชน

และศาสตราจารย์ ดร.หลุยส์ มา.อาร์ คาลินโก เป็นหนึ่งในคณะกรรมการผู้ตรวจประเมินเกณฑ์รางวัล MBNQA ที่ว่านี้

เขาเล่าให้ฟังว่าที่สหรัฐอเมริกาในช่วงเริ่มต้นก็ไม่ได้น้อยหน้า ด้วยมีความท้าทายอย่างมากในแง่ของการนำเอา MBNQA เข้ามาบริหารจัดการภายในรั้วสถาบันอุดมศึกษา

ประการแรก คือ ในขณะที่มีทรัพยากรลดน้อยลงแต่ต้องตอบสนองความต้องการซึ่งนับวันยิ่งเพิ่มขึ้น

ประการที่สอง คือ การสร้างความเชื่อมโยงวัฒนธรรมของกลุ่มอาจารย์ กับ วัฒนธรรมของกลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษา

"ผมเริ่มงานในฐานะอาจารย์ต่อมาก็อาสาทำงานในส่วนการบริหารมหาวิทยาลัยด้วย แต่เพื่อนอาจารย์ของผมหลายคนมองว่าผมเสียสติไปแล้ว

เนื่องจากผมสละวันหยุดช่วงปิดภาคเรียนเพื่อทำงานอย่างหนัก และภายหลังผมยังสมัครชิงตำแหน่งคณบดีอีกด้วย ในอเมริกามีคำกล่าวที่ว่าเมื่อคุณได้ขึ้นสู่ตำแหน่งผู้บริหารในมหาวิทยาลัย เท่ากับว่าคุณได้ก้าวเข้าสู่ด้านมืดของการทำงานเรียบร้อยแล้ว"

ด้วยความเชื่อว่าการเรียนการสอนในห้องเรียนถือเป็นกิจกรรมที่สร้างคุณค่าให้แก่มหาวิทยาลัย ส่วนผู้บริหารเปรียบเสมือนเป็นงานที่อยู่อีกฝั่งฟาก หรืออยู่คนละขั้วเลยทีเดียว

ประการที่สาม คือ การเรียนรู้การจัดการที่เป็นเลิศจากองค์กรอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในและนอกวงการการศึกษา

"มหาวิทยาลัยนั้นได้รับความยอมรับว่าเป็นแหล่งรวมของผู้รู้ ผู้ที่เป็นนักการศึกษาจึงเชื่อว่าเขานั้นรู้และเชี่ยวชาญทุกอย่าง ทั้งมีความสามารถที่จะดำเนินโครงการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงมักไม่ยอมรับความคิดของคนอื่น"

สิ่งที่เกิดขึ้นจริงก็คือสถาบันการศึกษาหลายแห่งเลยประสบปัญหา "Not Invented Here" ซึ่งหมายถึง "อะไรก็ตามที่สำเร็จมาจากที่อื่นเราไม่ได้คิดค้นมันขึ้นมาด้วยตัวเอง ดังนั้นเราก็คงไม่สามารถใช้องค์ความรู้นั้นได้"

ประการที่สี่ คือ การตอบสนองต่อการวิพากษ์ของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัย เนื่องจากสถาบันการศึกษาต้องดำรงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือ ด้วยมีหน้าที่ผลิตทรัพยากรมนุษย์ออกไปรับใช้สังคมได้อย่างมีคุณภาพและคุณธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

ประการสุดท้าย ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.หลุยส์ มา.อาร์ คาลินโก บอกว่าเป็นความท้าทายใหม่ที่สถาบันการศึกษาพึงตระหนัก ก็คือ การสร้างวัฒนธรรมของการปรับปรุง การสร้างวัฒนธรรมของการวางแผน การสร้างวัฒนธรรมของการประเมินตนเอง

"เราต้องสามารถตรวจสอบได้ว่าการบริหารจัดการของเรามีคุณภาพเพียงพอหรือยัง อีกทั้งต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำด้วย"

เขาอ้างถึงหนังสือชื่อ Built to Last เขียนโดยจิม คอลลินส์ในปี 1994 ที่ทำการศึกษาองค์กรที่ประสบความสำเร็จใน การบริหารงานภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กร (Visionary Organization) โดยเปรียบเทียบกับองค์กรที่ไม่ประสบความสำเร็จ และพบว่ามีปัจจัยสำคัญที่แตกต่างกัน

ปัจจัยนี้เรียกว่า BHAG ย่อมาจาก Big, Hairy, Audacious และ Goal ซึ่งหากเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จจะมี BHAG ครบอยู่ทุกตัว และมีไว้เพื่อตอบคำถามสำคัญ 3 ประเด็น คือ

1. อะไรคือความมุ่งมั่นขององค์กร ซึ่งก็คือ ค่านิยมหลักในการทำงานขององค์กร สำหรับองค์กรการศึกษาแน่นอนว่าการเรียนรู้ย่อมต้องเป็นหนึ่งในค่า นิยมหลักที่สำคัญ และการสร้างคนที่มีคุณภาพเข้าไปทำงานในสังคม

2. อะไรคือตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ สำหรับสถาบันการศึกษาก็คือ ยอดของการลงทะเบียนเข้าเรียน

3. อะไรคือสิ่งที่สถาบันการศึกษาสามารถทำได้ดีที่สุด ประเด็นนี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละองค์กร แม้ว่าจะอยู่ในธุรกิจแบบเดียวกันก็ตาม

ศาสตราจารย์ ดร.หลุยส์ มา.อาร์ คาลินโก ยกตัวอย่างว่าหากเปรียบทุกองค์กรมียอดเขาเอเวอเรสต์ของตัวเองที่ตั้งไว้เป็นจุดหมายที่จะปีนป่ายไปให้ถึง ทั้งที่รู้ว่ายากที่จะปีน ยากที่จะสำเร็จ และต้องใช้ทรัพยากรมาก และที่สุดอาจเป็นไปไม่ได้ก็ได้

ซึ่งคำว่า วิสัยทัศน์ (Vision) มีความเกี่ยวเนื่องกับความฝัน (Dream) แล้วความฝันก็เชื่อมโยงไปถึงคำว่าภาพลวงตา (Hallucination)

"แต่สำหรับองค์กรที่มี BHAG วิสัยทัศน์ก็คือความฝันที่มาพร้อมกับหนทางและระเบียบวิธีปฏิบัติที่จะนำให้บรรลุความฝันนั้นได้ หากเปรียบว่าเราอยู่ที่ ฐานของภูเขาเอเวอเรสต์ ที่บริเวณฐานนี้จะมีธงสวดมนต์ร้อยเป็นสายโยงอยู่ทั่วไป ธงเหล่านี้ก็เขียนคำอธิษฐานไว้ต่างๆ มากมาย ดังนั้น ก่อนปีนเขา เราก็ต้องเขียนคำอธิษฐานและบันทึกจัดเก็บอย่างมีระบบ เมื่อเราเริ่มปีนสู่ยอดเขา เราก็จะได้เรียนรู้ว่าเส้นทางไหนเป็นเส้นทางที่พาไปสู่ยอดได้ ระยะเวลาและระยะทางที่จะใช้ในการปีนก็ขึ้นอยู่กับวิธีการของแต่องค์กรนั่นเอง"

ซึ่งเขาเชื่อว่าหากนำเอารางวัลคุณภาพเข้ามาใช้บริหารจัดการไม่ว่าองค์กรธุรกิจหรือสถาบันอุดมศึกษาล้วนก้าวเป็นองค์กรแบบ BHAG ได้ทั้งสิ้น

และหัวใจสำคัญของ MBNQA (เกณฑ์ประเมิน 7 หมวดเช่นเดียวกับ TQA) ก็คือการเน้นมองตัวเอง หาทางพัฒนาและปรับปรุงตัวเองเป็นหลัก

Source: http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/hr/20090908/74761/TQA-ชวนสถาบันอุดมศึกษาไทยไต่เอเวอเรสต์.html

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

งาน HM-KM ครั้งที่ 1 “เล่าสู่กันฟัง”

ผลการสำรวจความคิดเห็นของคณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ จำนวน 61 คน ในประเด็นที่ว่า
“ทำอย่างไรจึงจะทำงานให้สำเร็จและมีความสุข” พบว่า อาจารย์เห็นว่าจะต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

ลำดับ ปัจจัย ความถี่
1 มีความพึงพอใจในงานและรักงานที่ทำ 23 คน
2 มีเพื่อนร่วมงานที่ดี ให้คำปรึกษา ปลอบโยนเมื่อมีปัญหาหรือความทุกข์ 10 คน
3 มีความคิดเชิงบวก (มีอารมณ์ขัน) 9 คน
4 มีความมุ่งมั่นและพัฒนาตนเอง 7 คน
5 ใช้หลักศาสนา
- ให้อภัย เมตตากรุณา เข้าใจผู้อื่น 1 คน
- จริงใจ หวังดีต่อกัน 1 คน
- อดทน มีความมั่นคงทางอารมณ์ ใช้ขันติธรรม 1 คน
- ยึดทางสายกลาง 5 คน
6 มีผู้บริหารที่ดี เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานมีส่วนร่วม 3 คน
7 มีความสามัคคี 3 คน
8 มีอิสระในการทำงาน 2 คน
9 มีการบริหารจัดการเรื่องเวลา รู้จักวางแผนในการทำงาน 2 คน

รวม 61 คน

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

HM-KM ครั้งที่1 สรุปการเล่าเรื่อง “จะทำงานให้มีความสุขและประสบความสำเร็จได้อย่างไร”


HM-KM ครั้งที่1 สรุปการเล่าเรื่อง “จะทำงานให้มีความสุขและประสบความสำเร็จได้อย่างไร” โดย อาจารย์ประไพศรี ธีรดิลก และอาจารย์พิมพ์ใจ พงส์พิสิฏฐ์

อาจารย์ประไพศรี ธีรดิลก
ครูต้องแม่นความรู้ ต้องอ่านมากๆ หาความรู้ตลอดเวลา เวลาไม่รู้ต้องถาม ให้เวลากับนักศึกษา ให้ความเอาใจใส่ พยายามทำให้นักศึกษารักและสนใจการเรียน การวางตัวของครูก็สำคัญ

ทำงานด้วยความสุข ไม่เครียด เอาใจใส่สุขภาพ บางครั้งงานหนักต้องอดทน ไม่บ่น รู้จักอดกลั้นทั้งอารมณ์และปาก จำไว้ว่าไม่มีอะไรได้มาฟรี ต้องมีอารมณ์ขัน

อาจารย์พิมพ์ใจ พงส์พิสิฏฐ์
รัก ทุ่มเทมุ่งมั่นกับงานที่ทำ มีวินัยในตนเอง การทำงานต้องรู้จักวางแผน แยกงานจากเรื่องส่วนตัว การเป็นหัวหน้างานต้องเป็นตัวอย่างที่ดี จำไว้ว่าทำอะไรได้ผลอย่างนั้น ต้องมีสติและทุกปัญหาแก้ไขได้ การจัดการเวลา ต้องรู้จักเรียงลำดับความสำคัญของงาน การสอน ต้องทำให้นักศึกษารู้มากขึ้น ไม่ใช้อารมณ์หรือวาจาแดกดัน

มีความจริงใจและมีความสม่ำเสมอกับเพื่อนร่วมงานทุกระดับ ให้มองแง่บวก รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ให้อภัย รู้จักขอโทษ รู้บุญคุณ ใจกว้าง มีความประนีประนอม ยืดหยุ่น คนทุกคนมีอะไรดีในตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องมีจุดยืนของตนเอง

คำพูดของท่านปยุตโต “การทำงานเป็นการพัฒนาตนเอง เป็นการฝึกฝนตนเองในทุกด้าน ถ้าเราอยากจะเป็นคนเจริญก้าวหน้า เป็นคนมีคุณภาพ เราต้องพัฒนาตนเอง จะพัฒนาที่ไหนก็มาพัฒนาตนเองที่การทำงานนี้แหละ ใช้งานเป็นเครื่องพัฒนาตนเอง”

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551

HM-KM ครั้งที่ 1

คณะกรรมการการจัดการความรู้ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะจัดงาน HM-KM ครั้งที่ 1 "เล่าสู่กันฟัง" ในวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ โรงแรมแกรนด์อยุธยาบางกอก โดยงานดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของงานแสดงมุทิตาจิต "ร้อยรักจากใจ ด้วยอาลัยและผูกพัน" โดยมีกำหนดการดังนี้

9:30 น. รถออกจากมหาวิทยาลัย
10:00 – 10:30 น. ลงทะเบียน และ coffee break
10:30 – 10:45 น. คณบดีกล่าวเปิดงาน HM-KM
10:45 – 11:00 น. ชมวีดิทัศน์
11:00 – 12:30 น. รายการ HM-KM ครั้งที่ 1 “เล่าสู่กันฟัง”
(วิทยากร: อาจารย์ ประไพศรี ธีรดิลก และอาจารย์ พิมพ์ใจ พงส์พิสิฏฐ์)
12:30 – 13:30 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13:30 คณบดีกล่าวเปิดงาน “ร้อยรักจากใจ ดัวยอาลัยและผูกพัน”
13:30 – 14:15 น. การแสดง
14:15 น. คณบดีกล่าวสุนทรกถา คณบดี+ทีมบริหาร+หัวหน้าสาขามอบของที่ระลึก
14:20 คำกล่าวขอบคุณ
(อาจารย์ ประไพศรี ธีรดิลก และอาจารย์ พิมพ์ใจ พงส์พิสิฏฐ์)
14:30 -15:00 น. พิธีแสดงมุทิตาจิต และ coffee break
15:30 น. รถกลับมหาวิทยาลัย

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

แผนการดำเนินงาน Knowledge Management ปีการศึกษา 2550

แผนการดำเนินงาน Knowledge Management ปีการศึกษา 2550
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ธันวาคม 2550
ตั้งกรรมการ
กุมภาพันธ์ 2551
ประชุมกรรมการ KM เพื่อ
1.1 กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัดและรูปแบบการประเมินผล
1.2 พิจารณาการจัดทำงบประมาณปีการศึกษา 2551
1.3 HM-KM ครั้งที่ 1
มีนาคม
HM-KM ครั้งที่ 1
เมษายน
พัฒนาเว็บบอร์ด HM Club
พฤษภาคม
ประเมินผลการดำเนินงาน